พระธาตุดอยเวาแม่สาย

วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศประวัติพระธาตุดอยเวาพระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง

พระธาตุผาเงาวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้ชื่อมาจากพระธาตุผาเงาที่อยู่ในบริเวณวัดซึ่งตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่า "ผาเงา" ก็คือ เงาของก้อนผาหรือก้อนหินที่มีลักษณะเป็นรูปสูงใหญ่คล้ายรูปทรงพระเจดีย์และให้ร่วมเงาที่ดีมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "พระธาตุผาเงา" พระธาตุองค์นี้เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๙๔ - ๕๑๒ โดย ขุนผาพัง เข้าผู้ครองนครโยนก องค์ที่ ๒๓ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุผาเงา นอกจากพระธาตุผาเงาแล้วยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น พระเจดีย์เจ็ดยอด พระเจดีย์จอมจัน พระวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา พระธาตุพุทธนิมิต และซุ้มประตูพระธาตุผาเงาที่มีลวดลายลักษณะสวยงามมาก เป็นสถานปฏิบัติธรรมบนเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๐๕ วิหารใหม่สร้างขึ้นบริเวณที่ขุดพบพระประธาน (หลวงพ่อเงา) บนยอดเขาประดิษฐาน พระบรมธาตุนิมิตรเจดีย์ ซึ่งบริเวณนี้สามารถชมวิว ทิวทัศน์บริเวณเมืองเชียงแสน แม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้


การวัดความเร็วและทิศทางของลม



ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์"(anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัดหรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบและมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์การวัดความเร็วและทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่นนอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมงกิโลเมตรต่อชั่วโมงไมล์ (บก) ต่อชั่วโมงนอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ[กลับหัวข้อหลัก]
เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
มาตราลมโบฟอร์ต
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิสโบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔-๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนามาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ในการ เดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau-fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่งกำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒ โดยมีคำบรรยายเครื่องหมายและเปรียบเทียบความเร็วที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
เขียนโดย ด.ญ.พัชรินญา นิระโทษะ 0 ความคิดเห็น

แรงดันอากาศแรงดันของอากาศหรือ ความดันของอากาศ นั้น ในการพยากรณ์อากาศจะเรียกว่า ความกดอากาศ จะมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอากาศห่อหุ้มโลกอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีน้ำหนักกดลงบนผิวโลก บนตัวเรา หรือ บนวัตถุต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาความกดดันของอากาศ มีค่าประมาณ 15 ปอนด์ ต่อ พื้นที่ 1 ตารางนิ้วที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งเรียกความกดดันนี้ว่า "ความกดดัน 1 บรรยากาศ" ซึ่งเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอทในการวัดความดันอากาศ เรามักวัดเป็นส่วนสูงของน้ำ หรือส่วนสูงของปรอท ทอริเซลลิ (Toricelli) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นคนแรกที่คิดหาความดันของอากาศโดยใช้ ปรอทศึกษาความดันบรรยากาศแล้วนำไปสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศเรียก ว่า "บารอมิเตอร์" (baromiter)บารอมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศ ที่นิยมใช้ ได้แก่1.บารอมิเตอร์แบบปรอท สร้างขึ้นดดยใช้หลักการที่อากาศสามารถดันของเหลวให้เข้าไปในหลอดแก้ว เครื่องมือนี้ ประกอบด้วย หลอยแก้ว ปลายปิดด้านหนึ่งและไล่อากาศออก แล้วคว่ำหลอดแก้วลงในภาชนะที่บรรจุปรอท อากาศภายนอกจะดันปรอทเข้าสู่หลอดแก้ว ที่ระดับน้ำทะเล ลำปรอทในหลอดแก้วจะสูง 760 มิลลิเมตร (ถ้าใช้น้ำ แทนปรอท อากาศจะดันน้ำขึ้นสูง 10 เมตร เพราะน้ำเบากว่า 13.6 เท่า) ความดัน 1 บรรยากาศ คือความดันที่ทำให้ลำปรอทขึ้นสูง 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร2.แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ เป็นตลับโลหะ อาจเป็นอลูมิเนียมรูปร่างกลมแบน ผิวเป็นคลื่น ก้นตลับติดกับกรอบโลหะที่แข็งแรง ภายในตลับสูบอากาศออกเกือบหมด ฝาตลับจึงบุบขึ้นลงตามความดันของอากาศภายนอก ตอนบนฝาตลับมีสปริงที่ต่อไปที่คานและเข็มซึ่งชี้บนหน้าปัดที่มีตัวเลขแสดง ความดันของอากาศ3.บารอกราฟ เป็นเครื่องวัดความดันอากาศแบบแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่บันทุกความดันอากาศแบบต่อเนื่องกัน โดยแกนที่ขึ้นลงตามการบุบตัวของตลับโลหะ จะดันเข็มชี้ให้ปลายเข็ม เลื่อนขึ้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งหมุนตลอดเวลา เราจึงสามารถอ่านค่าความกดอากาศในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ บารอมิเตอร์แบบนี้ใช้ในการพยากรณ์อากาศ*ถ้าต้มน้ำในที่สูง จุดเดือดจะลดลงแต่ถ้าต้มในระดับน้ำทะเลจะมีจุดเดือด 100 องศาแอลติมิเตอร์ (พัฒนา มาจากแอนิรอยด์บารอมิเตอร์) เป็นเครื่องวัดระดับความสูง ใช้หลักการแบบแอนิรอยด์ แต่ปรับหน้าปัดให้อ่านระดับความสูงได้ด้วย ใช้สำหรับบอกความสูงของเครื่องบินและติดตัวนักโดดร่ม เพื่อบอกความสูง


[ ค้นหาเว็บบอร์ดทุกโรงเรียน แวะไปล่างสุดโฮมเพจ Dek-D ]
เขียนโดยด.ญ.พัชรินญา นิระโทษะ0 ความคิดเห็น


การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติแต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปีปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?ในศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อนส่วนระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปีประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSUหลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศพ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศวันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบันต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้COP-1เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538COP-2จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539COP-3จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540COP-4จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541COP-5จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542COP-6จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543COP-7จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544COP-8จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545COP-9จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86
เขียนโดย ด.ญ.พัชรินญา นิระโทษะ0 ความคิดเห็น

1 เมื่อมีลมพัดมาประทะกับแผ่นโลหะ ปลายข้างหนึ่งของแผ่นโลหะจะกระดกขึ้นมุมที่แผ่นโลหะทำแนวตั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความแรงของลม เครื่องมือนี้คือข้อใด
ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. บารอมิเตอร์ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์2. ข้อใด ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นลูกศรยาว มีแพนหางตั้งตรง เป็นตัวบังคับให้ปลายศรลมชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดเข้ามา โดยที่แกนของศรลมหมุนไปโดยรอบก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. ศรลม ( Wind vane )ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์3.ข้อใด เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ โดยจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ภาพนี้คือ ก. ภาพแสดงการเกิดลม ข. ภาพแสดงการลมบกลมทะเลค. ภาพแสดงการวัดความชื้น ง.ภาพแสดงการวัดความกดดัน4. ลมข้อใด เกิดขึ้นในตอนกลางวัน เนื่องจากอุณหภูมิของพื้นน้ำที่ได้รับจากดวงอาทิตย์สูงขึ้นช้ากว่าพื้นดิน ทำให้อากาศที่อยู่ใกล้พื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศที่อยู่ใกล้พื้นน้ำ ก. ลมทะเล ( Sea breeze ) ข.ลมบก ( Land breeze )ค. ลมหุบเขา ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้5.จากรูปนี้หมายถึงนักอุตุนิยมวิทยา นิยมใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความกดอากาศ ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่ระดับน้ำทะเลซึ่งตรวจวัดได้จากสถานีตรวจอากาศต่างๆ บันทึกลงในข้อใดที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของลมที่พัดผ่านส่วนต่างๆ ของโลกก.เส้นไอโซบาร์ ( Isobar ) ข.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือค. แผนที่อากาศ (Weather map) ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
เขียนโดยด.ญ.พัชรินญา นิระโทษะ0 ความคิดเห็น






นางปรัธยาภรณ์ สงค์รอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงรายเปิดเผยว่า ในฤดูกาลท่องเที่ยวปีนี้ จังหวัดเชียงราย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศที่หนาวเย็นขึ้น และมีประชาชนจำนวนมากที่ต้องเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า แต่ในการเดินทาง ซึ่งจำเป็นต้องมีบัตรผ่านแดน จึงมีข้อแนะนำดังนี้
กรณีการทำบัตรข้ามไปยังพม่า ที่ด่านท่าขี้เหล็ก อ.แม่สาย
- ทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว ที่หอประชุมอ.แม่สาย เพียงแห่งเดียว โดยมีค่าใช้จ่าย คนละ 30 บาท10 บาท ต้องเตรียมเอกสาร คือ บัตรประชาชน หรือ พาสปอร์ต ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติและต้องชำระเงินผ่านแดนให้ปับประเทศพม่า
กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามไปด้วย จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาทะเบียนรถ - คู่มือรถตัวจริง แสดงให้ทางเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสอบก่อนเข้า
- กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถที่ต้องนำข้ามแดน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ แสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างชัดเจน บัตรผ่านแดนจะมีอายุการใช้งาน 7 วัน
กรณีต้องการข้ามแดนไปยังประเทศลาว ที่อำเภอเชียงของ
- จำเป็นต้องเตรียม บัตรประชาชน และค่าธรรมเนียม คนละ 30 บาท ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของแห่งเดียว
- กรณีที่มีพาสปอร์ตอยู่แล้ว สามารถนำพาสปอร์ตยื่นที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีก
- กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามแดน ต้องมีพาสปอร์ตรถ และเอกสารการเป็นเจ้าของรถ ยื่นต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง
- ชำระที่ค่าธรรมเนียมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศลาว ในวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ คนละ 50 บาท และในวันเสาร์ – อาทิตย์ คนละ 70 บาท
- ค่าโดยสารทางเรือ คนละ 30 บาท
- กรณีต้องการค้างคืน อยู่ได้ไม่เกิน 3วัน 2 คืน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน
แหล่งข่าว สวท.เชียงราย
* เชียงรายโฟกัส ดอทคอม/ www.chiangraifocus.com
เขียนโดย ด.ญ.พัชรินญา นิระโทษะ 0 ความคิดเห็น

1
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon) ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
2
ข้อใด เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon) ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.พายุฟ้าคะนอง
3
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่าข้อใด ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon) ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
4
พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon) ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
5
พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon) ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
8
อักษร H คือ ข้อใดก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน
ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ง.ทุกข้อ
9
อักษร L คือ ข้อใด
ก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน ง.ทุกข้อ
10
อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ข้อใดก.ลมทะเล ข.พายุฤดูร้อน ค.พายุโซนร้อน ง.ลม
เขียนโดย ด.ญ.พัชรินญา นิระโทษะ0 ความคิดเห็น

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจาก ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออก ไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมโลหะ ต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยัง อีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น
สมดุลความร้อนสมดุลความร้อน หมาย ถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด
การดูดกลืนความร้อนของวัตถุวัตถุ ทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดีใน ทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดีใน ชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อน ของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น
การขยายตัวของวัตถุวัตถุ บางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่อ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มี สัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับความ รู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/18.htm
เขียนโดย พัชรินญา นิระโทษะ0 ความคิดเห็น

เมฆ
เมฆเมฆ คือน้ำในอากาศระดับสูงที่อยู่ในลักษณะหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ เมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ชนิดของเมฆเมื่อใช้ระดับความสูงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเมฆจะแบ่งเมฆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ1. เมฆระดับต่ำ เกิดที่ความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ได้แก่1.1 เมฆสเตรตัส มีลักษณะเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นทึบ กระจายอยู่ทั่วไป1.2 เมฆสเตรโตคิวมูลัส มีลักษณะเป็นแผ่น เป็นลอนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ

2. เมฆระดับกลาง อยู่ที่ระดับความสูง 2-5 กิโลเมตร ได้แก่2.1 เมฆอัลโตสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ต่อเนื่องกัน มีสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนแผ่กระจายครอบคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง2.2 เมฆอัลโตคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวหรือสีเทามีลักษณะเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ประกอบด้วยเมฆก้อนขนาดเล็กๆ มากมาย เกิดหลังจากอากาศแปรปรวนผ่านพ้นไป2.3 เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้น มีสีเทาค่อนข้างต่ำ ถ้ามีเมฆชนิดนี้เกิดขึ้น มักจะมีฝนหรือหิมะตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง แต่ตกไม่หนักมากนัก

3. เมฆระดับสูง อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 5-10 กิโลเมตร ได้แก่3.1 เมฆเซอรัส เป็นเมฆสีขาว เป็นปุยคล้ายใยไหม ค่อนข้างโปร่งแสง มีลักษณะเป็นเส้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายขนนก3.2 เมฆเซอโรสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นสีขาวโปร่งแสง เป็นฝ้าบางๆ ราบเรียบเสมอกัน ทำให้เกิดวงแสงหรือการทรงกลดขึ้นรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เสมอ3.3 เมฆเซอโรคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวแผ่นบางๆ ไม่มีเงาปรากฏขึ้นในก้อนเมฆ บางส่วนของเมฆมีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นเล็กๆ และเป็นเส้นผสมกัน

โมเมนต์ของแรง โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตรทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิการูปแสดงทิศทางของโมเมนต์จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่าผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกาคานหลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์รูปแสดงลักษณะของคานส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคานการจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 12. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 23. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 3การผ่อนแรงของคาน จะมีค่ามากหรือน้อยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W ว่าถ้าระยะ EF ยาวหรือสั้นกว่าระยะ WF ถ้าในกรณีที่ยาวกว่าก็จะช่วยผ่อนแรง ถ้าสั้นกว่าก็จะไม่ผ่อนแรงหลักการคำนวณเรื่องคาน มีดังนี้1. ถ้าโจทย์ไม่บอกน้ำหนักของคานมาให้ เราไม่ต้องคิดน้ำหนักของคาน ถือว่าคานนั้นเบามาก2. ในการคำนวณให้ถือว่า คานมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด3. ถ้าโจทย์บอกน้ำหนักคานมาให้ต้องคิดน้ำหนักคานด้วย โดยถือว่าน้ำหนักของคานจะอยู่จุดกึ่งกลางคานเสมอ4. เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา5. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับ ผลบวกของโมเมนต์ย่อยแต่ละชนิด6. เมื่อมีแรงมากระทำที่จุดหมุน ค่าของโมเมนต์มีค่าเท่ากับศูนย์เพราะระยะทางเป็นศูนย์ ดังนี้โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง= แรง x 0โมเมนต์ = 0หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่นตัวอย่างที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุลวิธีทำ สมมุติให้แขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน x เมตร คิดโมเมนต์ที่จุด Fต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน 4 เมตร ตอบตัวอย่างที่ 2 คานยาว 10 เมตรงัดวัตถุหนัก 100 นิวตัน โดยวางให้จุดหมุนอยู่ห่างจากวัตถุ 1 เมตร จงหาว่า จะต้องออกแรงที่ปลายคานอีกข้างหนึ่งเท่าไรวิธีทำ คิดโมเมนต์ที่จุด Fต้องออกแรงพยายาม = 11.11 นิวตัน ตอบ
เขียนโดย 0 ความคิดเห็น

เรื่อง โมเมนต์ของแรงแรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุดนิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่งหน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)ผลของแรง1. แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็นงาน2. แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็นโมเมนต์โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือโมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรงหน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตรโมเมนต์มี 2 ชนิด คือ1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกากฏของโมเมนต์เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่าผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
เขียนโดย เด็กหญิง พัชรินญา นิระโทษะ 0 ความคิดเห็น

แรงเสียดทานแรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่ใช้ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุกำหนดให้วัตถุมวล m มีน้ำหนัก mg วางอยู่บนพื้นราบ ดังรูปโดย N คือ แรงปฏิกิริยาของพื้นที่กระทำต่อวัตถุmg คือ น้ำหนักของวัตถุที่กระทำต่อพื้น (กดลงพื้น)เราสามารถพิจารณาผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุได้ในหลายๆ กรณี ดังต่อไปนี้1.เมื่อวัตถุอยู่นิ่ง ไม่มีแรงภายนอกมากระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับศูนย์2.เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางขวา คือมีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกระทำต่อผิวล่างของวัตถุที่สัมผัสกับพื้น ดังรูปโดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอจะได้ว่า F = f นั่นคือ แรงภายนอกที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่จะมีค่าเท่ากับแรงเสียดทาน3.เมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุเดิมแต่มีทิศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวา แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางซ้ายคอยต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานประเภทของแรงเสียดทานแรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1.แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) เป็นแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากผิววัตถุ 2 ชนิด มาสัมผัสกัน พบว่า แรงเสียดทานที่เกิดจะมีค่าไม่คงที่ จะมีปริมาณเท่ากับแรงที่มากระทำและจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่2.แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดกับผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิด ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่น การกลิ้งของวัตถุ การลื่นไถลของวัตถุ และการไหลของวัตถุ เป็นต้นแรงเสียดทานเนื่องจากการกลิ้งของวัตถุและแรงเสียดทานเนื่องจากการลื่นไถลของวัตถุนั้นขนาดของแรงเสียดทานจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุ ตัวอย่างเช่น เราสามารถดันรถยนต์ที่เข้าเกียร์ว่างไว้ให้เคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าการดันรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้นนอกจากนี้แรงเสียดทานยังขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของผิวหน้าของพื้นที่วัตถุสัมผัส พื้นผิวหน้าขรุขระจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากกว่าพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ ตัวอย่างเช่น แรงเสียดทานบนพื้นทรายมีค่ามากกว่าแรงเสียดทานบนพื้นคอนกรีตที่เป็นทางวิ่งของสเกตบอร์ด ส่วนแรงเสียดทานจะเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อคนดันกล่องไม้ให้เคลื่อนที่บนพื้นที่มีผิวหน้าเรียบแรงเสียดทานเนื่องจากของไหล เช่น น้ำ ลม หรืออากาศ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ข้าม ขวาง หรือผ่านเข้าไปในของไหลหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถีบรถจักรยานปะทะลม หรือว่ายดำน้ำลงไปยังก้นสระหรือในทะเล ในของไหลนี้แรงเสียดทานของวัตถุจะขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความเร็วของวัตถุด้วยสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่กับแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส นักวิทยาศาสตร์ใช้อักษรมิว เป็นสัญลักษณ์แทน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ใบความรู้ที่ 35เรื่อง แรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกเป็นแรงที่เกิดจากโลกออกแรงดึงดูดวัตถุต่างๆ ให้ไปยังจุดศูนย์กลางของโลก โดยแรงนี้จะกระทำต่อวัตถุต่างๆ อยู่ตลอดเวลาน้ำหนักวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ที่กล่าวว่ามีน้ำหนักนั้นเนื่องจาก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุให้ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกล่าวถึงน้ำหนักก็จะต้องกล่าวถึงมวลด้วย มวลและน้ำหนักไม่ใช่สิ่งเดียวกันมวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุน้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุถ้าให้ m1 เป็นมวลของวัตถุm2 เป็นมวลของโลกR เป็นระยะห่างจากจุดศูนย์กลางโลกถึงวัตถุF เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกและวัตถุหรือจะได้ว่าF =Gm1M2/R2 G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล มีค่า 6.67 × 10-11 Nm2/ kg2นํ้าหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งๆ เมื่อชั่งในบริเวณต่างกันจะมีค่าต่างกัน โดยนํ้าหนักของมวล1 กิโลกรัมที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่าประมาณ 9.78 นิวตัน ในขณะที่นํ้ าหนักของมวล 1 กิโลกรัมที่บริเวณขั้วโลกมีค่าประมาณ 9.83 นิวตันถ้าวัตถุมีมวลมากแล้ว โลกก็จะต้องออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นมากด้วย วัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นก็จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้นมีมวลน้อย โลกก็จะออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นน้อย วัตถุที่มีขนาดเบา ก็จะมีน้ำหนักน้อยเช่นกันน้ำหนัก คือแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราแขวนแอบเปิ้ลที่ตะขอของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน น้ำหนักของแอปเปิ้ลจะกรทำต่อสปริง แรงที่เกิดจากน้ำหนักของผลแอบเปิลจะกรทำต่อสปริงทำให้สปริงเปลี่ยนรูปร่างและขนาดได้มนุษย์รู้จักธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วง เช่น การใช้สามเกอตอกเสาเข็มซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นปั้นจั่น การใช้ประโยชน์จากการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่นก็อาศัยน้ำหนักตัวเรา ทำให้เคลื่อนที่ลงมาตามไม้ลื่นได้การพัฒนารูปร่างของยานพาหนะก็ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของยานพาหนะและน้ำหนักของสัมภาระที่จะบรรทุกด้วย เพราะถ้าบรรทุกน้ำหนักมาก พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะก็จะสิ้นเปลืองมากด้วย การยกของและการเดินขึ้นสู่ที่สูงต้องออกแรงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง หรืออำนวยความสะดวก เช่น รอก ลิฟท์ เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ที่สูงทำได้สะดวกและง่ายขึ้น
เขียนโดย เด็กหญิง พัชรินญา นิระโทษะ0 ความคิดเห็น

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา
นัก โบราณคดียุคปัจจุบันต่างตื่นตะลึงกับสิ่งก่อสร้างอัน มหัศจรรย์มากมายของชาว มายาซึ่งไม่ใช้เครื่องมือโลหะในการก่อสร้างเลย เช่น วิหารรูปทรงพีระมิด ราชวังและหอดูดาว เป็นต้น ยอดพีระมิดของชาวมายาจะแบนราบต่างจากพีระมิดของชาวอี ยิปต์ พีระมิดที่เมืองติกัลสูงถึง 212 ฟุต บนส่วนยอดมีห้องมากมาย และแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพ ราชวังของเมืองติกัลเป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องมากถึง 42 ห้อง และเมืองอักซ์มัลมีโรงละครขนาดใหญ่ มันช่างอลังการเหลือเกินอย่าว่าแต่สมัย โบราณเลย เพราะจนถึงปัจจุบันนี้การสร้างสิ่งก่อสร้างแบบนี้นับ ว่ายากมากๆนอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานถึงทฤษฏีพระเจ้าจากอวกาศหลัก ฐานสำคัญเกี่ยวกับพระเจ้าของชาวมายานี่ก็อีก รูปสลักภาพวาดแต่ละภาพล้วนสวยงามตามเอกลักษณ์แบบศิลป มายา แต่ก็น่าแปลกที่พระเจ้าของพวกเค้าล้วนพิลึกกึกกือเป็ นที่สุด บางรูปเป็นรูปพระเจ้าขับยานอวกาศ บางภาพเป็นรูปสาวกของพระเจ้ากำลังปราบปีศาจร้าย และอาวุธที่อยู่ในมือ นักโบราณคดีต่างลงความเห็นว่า มันคือปืนอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อสองพันกว่าปีก่อนมีปืนใช้กันแล้วหรือครับ? ภาชนะบางชิ้นของพวกเขาก็เช่นกัน ถ้วยบางชิ้นมีภาพวาดของมนุษย์สวมหมวกอวกาศ ที่มา http://www.thaigaming.com/forward-mail/71632.htmชาวมายาหายไปไหนทุก วันนี้นักโบราณคดียังคงศึกษาอาณาจักรมายันเพื่อไขปริ ศนากันต่อไป ทอม เชฟเวอร์ นักโบราณคดีหนึ่งเดียวขององค์การนาซาจากศูนย์การบินอ วกาศมาร์แชล ก็เป็นคนหนึ่ง เชฟเวอร์และทีมงานทำการศึกษาซากเมืองเพเตนในประเทศกั วเตมาลา ซึ่งติดกับพรมแดนเม็กซิโก โดยการขุดค้นหาหลักฐานใต้พื้นดินและใช้รีโมตเซนซิ่งห าหลักฐานที่สายตามนุษย์ มองไม่เห็น สิ่งที่เชฟเวอร์ค้นพบใต้พื้นดินทั่วทั้งบริเวณของ เมืองร้างแห่งนี้คือเรณูของต้นหญ้าแทนที่จะเป็นเรณูข องต้นไม้ใหญ่ หลักฐานนี้แสดงว่าป่าไม้ของเมืองเพเตนลดลงกินบริเวณก ว้างเมื่อประมาณ 1,200 ที่ผ่านมา ทีมงานบอกว่าเมื่อไม่มีป่าฝนก็จะเกิดการกัดเซาะและกา รระเหยของน้ำ และการกัดเซาะจะรุนแรงจนกวาดเอาปุ๋ยที่หน้าดินไปจนหม ดสิ้น หลักฐานการกัดเซาะได้ถูกค้นพบในชั้นดินตะกอนในทะเลสา บ ยิ่ง ไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปกคลุมพื้นดินคือป่า ไม้จะทำให้อุณหภูมิสูง ขึ้น บ๊อบ โอเกิลส์บี นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศของศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลห นึ่งทีมงานใช้แบบจำลอง คอมพิวเตอร์คำนวณผลแล้วปรากฏว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 5-6 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้ผืนแผ่นดินแห้งแล้งซึ ่งไม่เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืช นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อ การมีฝนด้วย ดังนั้นในฤดูแล้งเมืองเพเตนจะตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ ขณะที่น้ำใต้พื้นดินก็ลึกถึง 500 ฟุต จนไม่สามารถจะขุดนำมาใช้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวมายาจะต้องอาศัยการเก็บกักน้ำในอ ่างเก็บน้ำแต่มันก็คงจะ ระเหยไปจนไม่ทันได้ใช้ ขณะที่อาณาจักรมายันมีประชากรจำนวน มากซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อาหารและน้ำเป็นจำนวนมากด้วย การศึกษาพบว่าประมาณคริสต์ศักราช 800 เมืองของชาวมายามีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก ในพื้นที่ชนบทมีประชากร 500-700 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ และ 1,800-2,600 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ในบริเวณศูนย์กลางของอาณาจักรทาง ตอนเหนือของประเทศ กัวเตมาลา พอๆ กับนครลอสแองเจลิสในปี 2000 ซึ่งมีประชากร 2,345 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 950 ก็เกิดความหายนะ " บางทีราว 90-95% ของชาวมายาต้องตายไป" เชฟเวอร์กล่าว หลัก ฐานที่สนับสนุนความเป็นไปได้ก็คือ การพบว่ากระดูกของชาวมายาซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวสองสาม ทศวรรษก่อนอาณาจักรมา ยันจะล่มสลายซึ่งแสดงว่าเป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง เชฟเวอร์ สรุปการศึกษาในครั้งนี้ว่า นักโบราณคดีเคยโต้เถียงกันมานานว่า สาเหตุของการล่มสลายว่าเป็นเพราะความแห้งแล้ง หรือสงคราม หรือโรคระบาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ทีมงานของเขาคิดว่าทั้งหมดล้วนมีบทบาท ทว่าสาเหตุหลักก็คือ การขาดอาหารและน้ำอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติผสมผสานกับการทำล ายป่าไม้ของมนุษย์ และ เขาคิดว่าการเรียนรู้ว่าชาวมายาทำอะไรถูกต้องและทำอะ ไรผิดพลาดจะช่วยให้ ประชาชนพบวิถีทางที่ยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยจะหยุดยั้งการทำสิ่งที่เลยเถิดในช่วงเวลาอันสั้นซ ึ่งเคยทำลายชาวมายามา แล้ว




นักโบราณคดีหลายคน ต่างพยายามศึกษาความเป็นมาของเผ่านี้ จากหลักฐานโบราณคดีที่เหลืออยู่ แต่ก็สับสนอยู่ดีว่าพวกเขามาจากไหนกันแน่มี ศิลาจารึกขนาดใหญ่ ที่เขียนข้อความอย่างละเอียดเต็มไปหมด ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ซึ่งแสดงว่าชาวมายามีภาษาเป็นของตนเองและชอบบันทึกปร ะวัติศาสตร์ แต่..น่าเสียดาย ในข้อความศิลาจารึกนั้นกลับไม่มีใครสักคนที่อ่านออก ตีความได้สักคนเดียวสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับมายา สันนิษฐานว่า ชาวมายาอาจสืบเชื้อสายมาจากอิสราเอล ไม่ก็กรุงทรอย คาร์เธจ ฮั่น แอตแลนติส ฯลฯปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เรียกว่า คูฮุลอะฮอว์ (K'uhul ajaw) หรือ เทวกษัตริย์ ใช้อักษรภาพในการบันทึก มีความสามารถทางดาราศาสตร์ จนสามารถทำนายเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ล ่วงหน้าเป็นเวลานาน รู้จักทำปฏิทินใช้ รู้จักประดิษฐ์เลขศูนย์ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ รู้จักค้าขายเกลือ หยก และเครื่องปั้นดินเผา แต่ชาวมายาไม่รู้จักใช้ล้อและไม่รู้จักการถลุงแร่ ซึ่งแสดงว่าชาวมายาดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์หินที่รู้จั กใช้เพียงไม้ กระดูกสัตว์ หินปูน และหินทรายในการสร้างเมืองนอกจากนี้ ชาวมายานับถือเทพเจ้ามาก และมีเทพเจ้ามากมาย ทั้งสุริยเทพ วสันตเทพ และมรณเทพ เทพเจ้าเหล่านี้ทรงโปรดปรานการเสวยเลือด ดังนั้น เหล่าเชลยศึกสงครามจะถูกชาวมายาฆ่าเพื่อเอาเลือดไปถว ายเทพ(บางครั้งก็เลือก กันเองในเผ่า)แน่นอนมีตำนานเกี่ยวกับที่มาของชนเผ่านี้ด้วย จากคำบอกเล่าว่ากันว่า ชาวมายาสืบเชื้อสายจากพระเจ้าผิวสีขาว มีเครายาว และเดินทางมาจากฟากฟ้าโพ้น.อาณาจักรมายามีซากสิ่งก่อสร้างหลายแห่งหลายที และแต่ละที่นั้นถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น ติ กัล (Tikal) มีพีระมิดของชาวมายา สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้านเปเตน (Peten)ปาเลงเก (Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)ซีบิลชัลตุน (Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls

ทฤษฎี ที่โด่งดังมากสุดคงต้องยกให้กับคำทำนาย ที่ว่า โลกบูดเบี้ยวใบนี้จะแตกดับในวันที่ 21 ธ.ค. 2012 หรืออีกแค่ 5 ปีข้างหน้า...ด้วยชุดเลขสวย 212012

ชั้น. ม.1/3


เด็กชาย กิตติพงศ์ แก้วนาค



เด็กชาย จเร เขาวิเศษ



เด็กชาย จิรวัฒน์ บุรี



เด็กชาย ทนงศักดิ์ นิราศ



เด็กชาย ทัศนัย ใยไม้



เด็กชาย นิรุทธ์ แก้วกุลศรี



ด็กชาย ปฏิธาร พิงชัยภูมิ



เด็กชายพงศกร ท้าวนาม



เด็กชาย วราเทพ สุภานุสร



เด็กชาย วัชรพงษ์ ดงดอน



เด็กชาย สิทธิพร ทองธรรม



เด็กชาย สืบวงศ์ รอสูงเนิน



เด็กชาย สุทธิพงษ์ ดีอ่อน



ด็กชาย อภิรมย์ โอ่งอิน



เด็กชาย อิทธิพร มีแก้ว



เด็กหญิง กนกพร คชสิงห์



เด็กหญิง กนกพร ประชัน



เด็กหญิง กนกวรรณ โนนพยอม



เด็กหญิง กมลวรรณ จีทา



ด็กหญิง กัลยาณี แก้วกัญจะ



เด็กหญิง เจนจิรา ทองดี



เด็กหญิง ชไมพร ดงดอน



เด็กหญิง ทัดดาว ช่างเจรจา



เด็กหญิง ธนธรณ์ ยงญาติ



เด็กหญิง ปพิชญา เชาว์ดี



เด็กหญิง ปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร



เด็กหญิง พรธิภา ยอดแย้ม



เด็กหญิง พัชรินญา นิระโทษะ



เด็กหญิง แพรวพรรณ ชมโฉม



เด็กหญิง มธุรส สุวรรณี



เด็กหญิง มัสลิตตา เคราะห์ดี



เด็กหญิง ลักขณา นิตรา



เด็กหญิง วราภรณ์ ทุนมาก



เด็กหญิง สิรินยา มหาภาส



เด็กหญิง สุดารัตน์ แซ่ลี



เด็กหญิงสุทธิกานต์ รื่นกลิ่น



เด็กหญิง แสงระวี เข็มทิศ



เด็กหญิง หทัยชนก สุขย่น



เด็กหญิง หนึ่งฤทัย มโหธร



เด็กหญิง อภิญญา สีแดง



















ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ